บีพลัส การบัญชี ” ประสบการณ์ที่เหนือกว่า ทีมงานคุณภาพ รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ มีจรรยาบรรณ เก็บรักษาความลับ ” : บริการจดทะเบียนธุรกิจ : บริการจัดทำบัญชีและภาษี : บริการตรวจสอบบัญชี : บริการวางระบบบัยชี : บริการให้คำบรึกษา

c
รับยื่น TAX ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

รับยื่น TAX ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

รับยื่น TAX ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


‼️
‼️‼️ บุคคล​ธรรมดา​ที่มีเงินได้สำหรับปี 2565 อย่าลืมยื่นภาษี​กันนะคะ
ท่านสามารถ​ใช้บริการให้สำนักงาน​บีพลัสดูแลได้ค่ะ 📢 สนใจทัก inbox ได้เลยค่ะ

โทร. 098-246-9864 , 087-636-2734
Line : @395xlvzim

ขยายเวลายื่นงบการเงินของกรมพัฒน์

ขยายเวลายื่นงบการเงินของกรมพัฒน์

 

            หลังจากที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกข่าวเรื่องการขยายเวลาการยื่นงบการเงิน ก็เกิดคำถามว่า ทำไมบริษัทมีเงื่อนไขต้องทำหนังสือชี้แจง!!! และไม่ระบุวันที่สิ้นสุดการนำส่งงบการเงินให้ชัดเจนเหมือนของห้างฯ คือ 31 ส.ค. 63

 

ถ้าเราทราบกันดี ก่อนหน้านี้ กรมพัฒน์ฯ เคยออกประกาศเรื่อง มาตรการรองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัดประชุมของนิติบุคคล พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 4 มี.ค. 63 (ก็เพื่อลดการติดเชื้อไวรัสจากการมาร่วมตัวกันเพื่อจัดประชุม) ซึ่งใจความสำคัญของประกาศคือ

            สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถจัดประชุม หรือประชุมล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

           ดังนั้นเมื่อสถานการณ์คลี่คลายและบริษัทสามารถจัดประชุมได้แล้ว ให้นำส่งหนังสือชี้แจงเหตุผลไม่สามารถจัดประชุม หรือประชุมล่าช้า เพื่อพิจารณาไม่เปรียบเทียบปรับ เรื่อง อาทิเช่น ตามกฎหมาย ปพพ. หรือ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด กำหนดให้

  • บริษัทต้องจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบการเงิน ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่สิ้นรอบปีบัญชี
  • ต้องยื่นสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น สำหรับบริษัทจำกัด และ ต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บมจ.006) ภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุมสามัญประจำปี สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด

***แล้วเกี่ยวอย่างไรกับการนำส่งงบการเงิน…..???***

            การที่บริษัทจัดประชุม (เพื่ออนุมัติงบการเงิน) ล่าช้าเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ก็จะส่งผลให้การนำส่งงบการเงินล่าช้าตามไปด้วยโดยปริยาย เห็นไหม!!! ว่าเท่ากับขยายการยื่นงบการเงินออกไปโดยอนุโลม
            เมื่อสถานการณ์คลี่คลายและบริษัทสามารถจัดประชุมได้แล้ว ให้นำส่งหนังสือชี้แจงเหตุผล และนำส่ง…

  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น [-แบบ บอจ.5 ภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น สำหรับบริษัทจำกัด และ แบบ บมจ.006 ภายใน 1 เดือน นับแต่วันเสร็จการประชุม สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด]
  • งบการเงิน ภายใน 1 เดือนนับแต่วันประชุม
  • สำหรับการจัดทำหนังสือชี้แจงของบริษัทนั้น กรมพัฒน์ฯ ก็ได้มีตัวอย่างแบบฟอร์มสำเร็จรูปอำนวยความสะดวกให้ท่าน และสามารถนำส่งหนังสือได้หลังจากที่บริษัทจัดประชุมได้แล้ว (ควรก่อนหรืออย่างช้าพร้อมกับการนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น) โดยเลือกนำส่งผ่านได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) นำส่งผ่านทางเว็บไซต์กรม 2) นำส่งด้วยตนเอง หรือ 3) นำส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

ดังนั้นตัวอย่างสมมุติว่าถ้าสถานการณ์คลี่คลายบริษัทสามารถจัดประชุมอนุมัติงบการเงินได้ล่าช้าไปกว่าวันที่ 31 ก.ค. 63 เมื่อจัดประชุมได้แล้วก็นำส่งหนังสือชี้แจงเหตุผลที่จัดประชุมไม่ได้ เห็นไหมว่าก็จะสามารถนำส่งงบการเงินได้ยาวกว่า 31 ส.ค. 63
บางท่านคงค้านในใจ!!! ว่าจะยาวกว่า 31 ส.ค. 63 ได้ไง ยังไงก็ต้องถูกล๊อคด้วยกำหนดวันของกรมสรรพากรที่ขยายการนำส่ง ภ.ง.ด.50+งบการเงิน ให้ได้ถึง 31 ส.ค. 63 ส่งงบการเงินช้ากว่านี้ก็โดนปรับซิ ++ลองคิดดีๆอีกที…. เราต้องแยกกันก่อนนะว่าประมวลรัษฎากร กับประมวลแพ่งพาณิชย์และพ.ร.บ.การบัญชี 2543 มันกฎหมายคนละตัวกัน (งบการเงินที่นำส่งพร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 เป็นไปตาม ม.69 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ถูกกำหนดให้นำส่งพร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 โดยมีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรอง ไม่ได้กล่าวถึงงบการเงินต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น)

แต่อย่างไรแล้วเราก็คงอยากทำทุกอย่างให้เรียบร้อยพร้อม ๆ กันนั่นแหละ
            มาถึงตรงนี้…ไม่อยากให้ถามว่าหากบริษัทประชุมเกิน 4 เดือนจะยังผิดกฎหมายอยู่หรือไม่ ก็ต้องตอบแบบคิดเองว่ากฎหมายเขียนไว้ให้ทำอย่างไรก็คงต้องทำอย่างนั้น แต่น่าจะเป็นเจตนาของกรมพัฒน์ฯ ที่ต้องการหาทางออกให้กับทางบริษัทบนพื้นฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ถือหุ้นที่ต้องเข้าร่วมประชุมหากบริษัทต้องฝืนจัดให้มีขึ้นช่วงนี้ การประชุมล่าช้าไม่ได้เกิดจากเจตนา แต่เกิดจากความจำเป็น กรมพัฒน์ฯจึงได้ออกมาตรการเชิงผ่อนผันโดยขอให้ชี้แจงซักนิดก็คงจะเพื่อหาเหตุไม่เอาผิดนั้นแหละ
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าประกาศเดิมดังกล่าวไม่ครอบคลุมห้างฯ เนื่องจากห้างฯ ไม่มีการประชุมอนุมัติงบการเงิน ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ปพพ. เหมือนบริษัทจำกัดที่ต้องจัดประชุมอนุมัติงบการเงิน ตาม ม.1197 และยังต้องส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นตาม ม.1139 กรมพัฒน์ฯ จึงต้องออกประกาศฉบับใหม่เรื่อง ขยายระยะเวลายื่นงบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างฯ… ลงวันที่ 25 มี.ค. 63 โดยใช้อำนาจอธิบดี ตาม ม.11 แห่ง พ.ร.บ.การบัญชี 2543 ให้ขยายเวลาการยื่นงบการเงินของห้างฯ โดยนำส่งได้ภายในวันที่ 31 ส.ค. 63 สำหรับงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 62 ถึงวันที่ 31 มี.ค. 63 (โดยไม่ต้องมีหนังสือชี้แจง)
สุดท้ายแล้ว ถ้าเราไม่ได้รับผลกระทบ และสามารถปฏิบัติได้ตามกฎหมาย
ก็ไม่มีเหตุใดที่เราจะต้องยื่นงบการเงินหรือนำส่งภาษีล่าช้าเลย
ที่มา…กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
อยากจดบริษัท จด หจก. กลัวโดนเรื่องภาษี ปรึกษาเรา บจก.บีพลัส การบัญชี ยินดีให้คำปรึกษา

อยากจดบริษัท จด หจก. กลัวโดนเรื่องภาษี ปรึกษาเรา บจก.บีพลัส การบัญชี ยินดีให้คำปรึกษา

ด้วยความปรารถนาดีจากบีพลัส การบัญชี
สำนักงานบัญชีครบวงจร จดทะเบียนธุรกิจ ทำบัญชี ยื่นภาษี ปิดงบการเงิน วางระบบบัญชี ตรวจสอบบัญชี รับปรึกษาบัญชีและภาษี ยินดีให้คำปรึกษาฟรี พร้อมเคียงข้างคุณฝ่าวิกฤตโควิด-19 ช่วยผู้ประกอบการ ติดต่อสอบถามได้ที่ 099-193-2112, 087-636-2734, 098-246-9864 
มือใหม่ก็ยื่นเองได้ ภาษีออนไลน์ปี63

มือใหม่ก็ยื่นเองได้ ภาษีออนไลน์ปี63

 เข้าสู่โค้งสุดท้ายสำหรับมนุษย์เงินเดือนหรือบุคคลมีรายได้ “ยื่นแบบภาษีออนไลน์ 2563” เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทางกระทรวงการคลังจึงให้สิทธิขยายยื่นภาษีบุคคลธรรมดาจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 โดยสามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง ใครยังไม่ได้ยื่น! งั้นเรามาทำตามกันไปพร้อมๆกันเลย

  • ใครบ้างต้องยื่นภาษี? 

           ทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาท ต้องยื่นภาษีเพื่อแสดงรายได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงเกณฑ์จ่ายภาษีก็ตาม แบ่งเป็น

          – สำหรับคนโสด มีรายได้จากเงินเดือนเพียงช่องทางเดียว ปีละ 120,000 บาทขึ้นไป หรือมีรายได้อื่นๆ ปีละ 60,000 บาทขึ้นไป มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีแม้ว่าจะไม่เสียภาษี
          – สำหรับคนมีคู่ มีรายได้จากเงินเดือนเพียงช่องทางเดียว ปีละ 220,000 บาทขึ้นไป หรือมีรายได้อื่นๆ ปีละ 120,000 บาทขึ้นไป มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีแม้ว่าจะไม่เสียภาษีเช่นเดียวกัน

  • เราต้องยื่นภาษีแบบไหน? 

          สำหรับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
          – แบบ ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือมนุษย์เงินเดือนอย่างเราที่มีรายได้ทางเดียว
          – แบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่มีรายได้อื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือน

  • เอกสารที่ต้องจัดเตรียมประกอบด้วย 

          – หนังสือรับรองเงินเดือนและการหักภาษี (50 ทวิ)
          – เอกสารลดหย่อนต่างๆ เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา และบุตร

  • ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง

          – เข้าไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากรเพื่อขอยื่นแบบภาษีออนไลน์ ยื่นภาษีออนไลน์
          – เลือกประเภทการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90/91 กรอก “หมายเลขบัตรประชาชน” ลงในช่องหมายเลขผู้ใช้ หากท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนยื่นเองครั้งแรกก็กดเลือกลงทะเบียนและกรอกข้อมูลได้เลย

 – เมื่อเราทำการยืนยันข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ทางกรมสรรพากรจะได้รับรายการยื่นแบบของท่าน และจะแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระ หรือตรวจสอบสถานะการคืนภาษีภายใน 3 วันทำการหลังจากที่ยื่นแบบสำเร็จ
          – ข้อสำคัญอย่าลืมกดพิมพ์แบบบันทึกเก็บไว้เป็นหลักฐาน รวมถึงหมายเลขอ้างอิงการยื่นแบบเพื่อเรียกดูใบเสร็จรับเงินในลำดับถัดไป

  • กรณีมีภาษีต้องชำระสามารถเลือกช่องทางการชำระภาษีดังนี้

          ปัจจุบันช่องทางการชำระภาษีที่ครอบคลุมและสะดวกสบายต่อผู้เสียภาษี โดยท่านสามารถเลือกชำระตามที่สถานที่ใกล้บ้านประกอบด้วย
          – ชำระทันทีผ่านระบบโดยตัดเงินผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต
          – ช่องทาง ATM
          – ช่องทาง Internet Banking
          – ช่องทาง Mobile Banking
          – ช่องทาง Tele-Banking
          – เคาน์เตอร์สรรพากร / RD Counter
          – เคาน์เตอร์ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
          – Counter Service

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : กรมสรรพากร

ขอเชิญรับชม Webinar On SMP Transformation การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลของสำนักงานบัญชีขนาดกลางและขนาดเล็กในอาเซียน

ขอเชิญรับชม Webinar On SMP Transformation การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลของสำนักงานบัญชีขนาดกลางและขนาดเล็กในอาเซียน

 

เมื่อวันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2564 ผศ. ดร.ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ อุปนายกสภาวิชาชีพบัญชี และรองประธานสหพันธ์นักบัญชีอาเซียน (AFA) เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการสัมมนาออนไลน์ เรื่อง SMP Transformation ซึ่งจัดโดยความร่วมมือระหว่าง AFA, ACCA, CA ANZ, and JICPA เพื่อสนับสนุนให้สำนักงานบัญชีขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคอาเซียนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มภาคภูมิ
สำหรับวิทยากรในการสัมมนาประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรวิชาชีพระดับสากล รวมทั้งนักวิจัยจากสมาคมนักบัญชีประเทศมาเลเซีย ผู้เข้าชมส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยสมาชิกองค์กรวิชาชีพในอาเซียนและเอเชียแปซิฟิก

สำหรับท่านผู้ที่สนใจ ที่พลาดการรับชมสด สามารถติดตามบันทึกการสัมมนาออนไลน์ย้อนหลัง ได้ที่ >>> https://bit.ly/2Rvn12p
#afaaccountants #aseanaccountants
            และสามารถติดตามอ่านรายงานเรื่อง ASEAN SMPs Technological Competency Skills ได้ที่ >>> https://bit.ly/2Sw6vzF